วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

การจัดการความเสี่ยง

วิธีการจัดการตอบสนองความเสี่ยงจําแนกเป็น 4 ประเภท (4T of Risk Responses) คือ 

1. Take การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) คือ การวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่มีวิธีการ
จัดการความเสี่ยงใดเลยที่เหมาะสมเนื่องจากต้นทุนการจัดการความเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ 
อาจต้องยอมรับความเสี่ยง แต่ควรมีมาตรการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อรองรับผลที่จะเกิดขึ้น 

2. Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) 
 - พยายามลดความเสี่ยงโดยการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของกิจกรรมหรือ
โครงการที่นําไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง 
 - ลดความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงจะเกิดขึ้น เช่น การฝึกอบรมบุคลากรให้มี
ความรู้เพียงพอ การกําหนดผู้จัดจ้างและผู้รับมอบงานให้แยกจากกัน 
 - ลดระดับความรุนแรงของผลกระทบเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น การติดตั้ง
เครื่องดับเพลิง การ back up ข้อมูลเป็นระยะๆ การมี server สํารอง 


 3. Terminate การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) 
 - ปฏิเสธและหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง โดยการหยุด ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมหรือโครงการที่จะนําไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนแผนการสร้างรถไฟฟ้า 
เป็นรถ BRT ในเส้นทางที่ไม่คุ้มทุน การยกเลิกโครงการที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน 
 - ข้อเสีย คือ อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผนงานขององค์กรมากเกินไป
จนไม่สามารถมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ 

4. Transfer การกระจาย/โอนความเสี่ยง (Risk Sharing) ยกภาระในการเผชิญหน้ากับ
เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงและการจัดการกับความเสี่ยงให้ผู้อื่น มิได้เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 
แต่เป็นการรับประกันว่าเมื่อเกิดความเสียหายแล้วองค์กรจะได้รับการชดใช้จากผู้อื่น 
 - การทําประกัน (Insurance) คือการจ่ายเงินเพื่อป้องกันตนเองและสินทรัพย์จากเหตุการณ์ที่
ไม่คาดคิด เช่น การทําประกันภัย ประกันชีวิต ประกันอัตราแลกเปลี่ยน 
 - การทําสัญญา (Contracts) คือการทําข้อตกลงต่างๆทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น การทํา
สัญญาซื้อขายล่วงหน้า การจัดจ้างหน่วยงานอื่นให้ดําเนินการแทน 
 - การรับประกัน (Warranties) ผู้ขายให้สัญญากับผู้ซื้อว่าสินค้าจะสามารถใช้งานได้ตาม
คุณสมบัติที่ระบุไว้ภายในระยะเวลาที่กําหนด หากไม่เป็นไปตามสัญญาผู้ขายพร้อมที่จะรับผิดชอบ
ตามที่ตกลงกัน จึงเป็นลักษณะของการแบ่งปันความเสี่ยงจากผู้ซื้อไปยังผู้ขาย

ที่มา: http://www.udru.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น