วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เล่า #5 ตรวจรับสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง

เมื่อไม่นานมานี้ ทางบริษัทได้มอบหมายให้ผมไปตรวจรับสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง เป็น LP Rotor 2 ตัว น้ำหนัก 87 ตันต่อตัว ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ถือเป็น Critical Equipment ของโครงการก่อสร้างที่ผมปฏิบัติงานอยู่ หากอุปกรณ์ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง และมีความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ จะมีผลต่อความล่าช้าของแผนงานก่อสร้างโครงการ ผลกระทบที่ตามมาสูงมาก บริษัทอาจจะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ เช่น Compensation Claimed จากผู้รับเหมา การสูญเสียรายได้ ค่าเสียโอกาส ต่าง ๆ รวมถึงบทปรับต่าง ๆ ตามสัญญาก่อสร้างโครงการ ซึ่งรวมแล้วมูลค่าความเสียหายสูงถึงหลายสิบล้านบาท


ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในการขนส่งอุปกรณ์ต้องสำคัญมาก การประสานงานเรื่อง MAR (Marine open cargo) หรือ บริษัทรับจ้างขนส่ง รวมถึงการตรวจสอบขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งอุปกรณ์ที่ขนส่งทางเรือ การตัด ถ่าง อุปกรณ์จับยึด คู่มือการยกอุปกรณ์ (Rigging Plan) และการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงของงานขนส่งสินค้าครั้งนี้ให้ได้มากที่สุด



การสำรวจอุปกรณ์การยก (Rigging Equipment) อุปกรณ์จับยืด หรือรถที่ใช้สำหรับงาน Transportation ก็มีความสำคัญมากเช่นกัน



งานควบคุมงานยกต้องปฏิบัตตามคู่มือการยก Rigging Plan หรือหากมีการเปลี่ยนแปลง ควรพิจารณาวิธีการให้เหมาะสม ในการทำงานครั้งนี้ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เช่นการขนถ่าย่สินค้าออกจากเรือ (Discharge) จากเรือลำใหญ่ ลงเรือเครน สำหรับงานขนย้ายครั้งนี้ตัวผมเองยังมองว่ายังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควร การย้ายสินค้าที่ต้องมีวิธีการยกหลาย ๆ ครั้ง มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดสินค้าเสียหาย แต่เนื่องจากเรือขนส่งที่ใช้ในการ Shipment ครั้งนี้ เป็นเรือขนส่งขนาดเล็กซึ่งไม่มีเครนติดตั้งมากับเรือ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้เรือเครนเข้ามาช่วยในการขนถ่ายดังกล่าว แต่ก็ต้องมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด



งานถ่ายสินค้าก็จบลงด้วยดี แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราจึงต้องประเมินความเสี่ยงในการเดินทางมาที่ Site งานด้วย โดยการประชุมกับผู้รับเหมาในการขนส่งไปที่ไซต์งาน ทำการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จัดทำป้องกันและบรรเมาความเสีย่งให้เหมาะสม รวมถึงตรวจสอบเส้นทางการเดินทางให้รอบคอบอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น