วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #1 นิ้วขาดเพราะพัดลมอุตสาหกรรม

ย้อนไปเมื่อปี 2553 ผมได้มีโอกาสเข้าไปทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งรับผิดชอบในงานติดตั้งเครื่องจักรในโรงไฟฟ้า ให้กับบริษัทรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งของไทย อยู่แถวสะพานพระราม 7 (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) เรื่องมีอยู่ว่า มีอยู่วันหนึ่งหน่วยงานของผมต้องทำงานล่วงเวลา เนื่องจากต้องเร่งงานให้เสร็จให้ทันตามกำหนดการ

ประมาณ 23:00 น.
ทีมงานกำลังเร่งทำงานอย่างหนัก ความเหนื่อยล้า เริ่มแสดงออกบนใบหน้าของพนักงาน

หัวหน้า A : ช่างกร ร้อนไหม เดี๋ยวผมไปขยับพัดลมให้
ช่างกร : ขอบคุณครับพี่ (ยังมุดอยู่ใต้เครื่องจักรเพื่อทำการประกอบชิ้นงาน)

ทันใดนั้นผมก็ได้ยินเสียงดัง โครม! เหมือนพัดลมล้ม และเสียงใบพัดกำลังเสียดสีกับอะไรบางอย่าง ปั๊ก ๆ ๆ

หัวหน้า A : โอ้ย! นิ้ว ๆ
ช่างกร : !!! (ตกใจเห็นเลือดเต็มพื้น)



ผลปรากฎว่าหัวหน้า A ได้ทำการย้ายพัดลมอุตสาหกรรมเพื่อให้มีลมมาเป่าตรงที่พนักงานทำงาน แต่เนื่องจากความเมื่อยล้าจากการทำงาน ทำให้เขาไม่สามารถประคองน้ำหนักของพัดลมอุตสาหกรรมได้ ในขณะที่พัดลมล้มลงมานั้น หัวหน้า A จึงรีบทำการประคองไว้ไม่ให้ล้ม แต่นิ้วของหัวหน้า A หลุดเข้าไปอยู่ในช่องของตะแกรงพัดลม (พัดลมอุตสาหกรรมจะมีช่องตะแกรงที่ห่างมาก) นิ้วของหัวหน้าขาดทันที 2 นิ้ว และอีกนิ้วถูกใบพัดลมตัดเป็นร่อง ทางทีมงานรีบทำการปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลที่ไกล้ที่สุด

ความเสี่ยงคืออะไร (Risk Assetment)
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากความเมื่อยล้าของพนักงาน
- อุบัตเหตุจากอุปกรณ์การทำงานพัดลมอุตสาหกรรม

โอกาสในการเกิด (Likely Hood)
- ปานกลาง ถึงสูง สืบเนื่องจากความเหนื่อยล้าจากการทำงานต่อเนื่อง

ความเสียหาย (Impact)
- พนักงานทุกคนต้องหยุดงาน ไม่สามารถทำงานต่อได้ เกิดความล่าช้ากระทบกับแผนงาน
- พนักงานบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะสำคัญ
- ชื่อเสียงบริษัท
- เสียขวัญกำลังใจ

การป้องกัน (Mitigation Plan)
- บริหารจัดการเวลาการทำงานของพนักงานให้เหมาะสม
- จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน Guard ให้เหมาะสม

อุบัติเหตุนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนอาจจะคาดไม่ถึง ว่าพัดลมที่ใช้ทำงานอยู่ทุกวันมันจะมีความเสี่ยงที่สามารถทำให้คนที่มีประสบการณ์สูงต้องบาดเจ็บและเสียอวัยวะสำคัญได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น