วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #3 เดินสำรวจภัยในโรงไฟฟ้า


เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจภัยในโรงไฟฟ้า ซึ่งต้องทำการประเมินความเสี่ยงร่วมกับ บริษัทชั้นนำเรื่องงานประกันภัย การสำรวจนั้น ในภาพรวมการก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี ความก้าวหน้า งานประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็น ในระหว่างเดินสำรวจที่ Turbine Hall (ชั้นที่ติดตั้ง Steam Turbine and Generator) ทางทีมงานสำรวจได้สังเกตุเห็นความผิดปกติของระบบดับเพลิง บริเวณจุด Bearing พบว่า มีการติดตั้งที่ผิดวิธี ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นจริง ระบบที่ได้ทำการติดตั้งในพื้นที่นั้น จะไม่สามารถทำการดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกใช้หัวฉีด Fire Head Sprinkler ที่ผิดจากวัตถุประสงค์ของการดับเพลิง ภายหลังจากทำการสำรวจแล้วเสร็จ ทางทีมงานจึงได้ทำการขอสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อฟังความเห็น และสรุปแนวทางป้องกันให้เหมาะสม

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไม Conceptual design ถึงถูก Approved ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องคนหนึ่งพูดขึ้นมา

"ไม่มีปัญหา เพราะอ้างอิงจาก NFPA (National Fire Protection Association)"

ผมแปลกใจมาก การ Approved แบบที่ไม่ถูกต้อง แล้วนำมาสู่การก่อสร้างแบบผิด ๆ นั้น หลาย ๆ คน หลาย ๆ สถานที่ ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NFPA จะมีใครสามารถยืนยันได้ว่าการออกแบบตาม NFPA จะสามารถป้องกันภัยได้ 100 เปอร์เซ็น ดังนั้นผมมองว่าผู้ที่รับผิดชอบในส่วนงาน ควรจะทำการศึกษา Case Study ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หรือควรรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านระบบป้องกันภัย เพื่อใช้ในการประกอบการออกแบบเพื่อนำมาสู่การก่อสร้างที่ดี และการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

>>> คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า ภัยต่าง ๆ นั้นล้วนมาจากความประมาท และความไม่เข้าใจถ่องแท้ในศาสตร์ของการป้องกันอัคคีภัยอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น