วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

การประเมินความเสี่ยงเพื่อลดความสูญเสีย

ในรอบสิบปีที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมของประเทศประสพกับการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง (Major Accident) หลายครั้ง เช่น กรณีโรงงานทำตุ๊กตาเคเดอร์เกิดอัคคีภัยร้ายแรงทำให้มีผุ้ปฏิบัติงานบาดเจ็บนับร้อย และยังส่งผลต่อการหายนะของธุรกิจ หรือกรณีโรงงานลำใยแห้งระเบิดจากสารโปแตสเซียมคลอเรต ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั้งต่อชีวิต รัพย์สิน ตลอดจนประชาชนที่อยู่รอบข้าง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง ซึ่งหากความเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอุบัติเหตุก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรงได้ ดังนั้น หากองค์กรที่มีความเสี่ยง (Risk) ในการทำงานได้มีการประเมินความเสี่ยงอย่างมีระบบ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินแล้ว การบริหาร และ การควบคุมความเสี่ยงก็จะเกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง

 คำนิยามที่เกี่ยวข้อง       ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย (Possibility of Loss ; J.R. Taylor, 1994) โดยพิจารณาจากผลเสียหาย หรือความรุนแรงาของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้



Risk = Severity X Probability

      การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์แหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
     การบ่งชี้อันตราย (Hazard Identification) หมายถึง กระบวนการค้นหาอันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ และที่แอบแฝงอยู่ในทุกขั้นตอนได้ ของกระบวนการผลิต พร้อมทั้งการระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หัวข้อที่ 3 ความเสี่ยงเรื่องภาษีน้ำมัน


ความเสี่ยงจากกฎหมายใหม่ "เรื่องภาษีน้ำมัน"

การทำธุรกิจ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การศึกษากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ ให้ดี ข้อกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ รวมถึงภาษีที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐ

ผมมีโอกาสได้เข้าประชุมร่วมกับ Management ของบริษัท ได้มีการเปิดประเด็นเรื่องหนึ่งคือ "เรื่องภาษีน้ำมัน" เนื่องจากสถานที่ปฏิบัติงานของผมอยู่ต่างประเทศ โดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ที่ประเทศลาว จากความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่ผันผวน รัฐบาลลาวได้ออกกฏหมายใหม่ในส่วนของกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะมีการเรียกเก็บภาษีกับผู้ประกอบการในประเทศ โดยเรียกเก็บเพิ่มจากเดิมประมาณ 400 - 500 Lak/Lite ซึ่งความเสี่ยงเรื่องนี้มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของโครงการในช่วงก่อสร้าง และในช่วงดำเนินการ ผลกระทบดังกล่าวส่งผลในระยะยาว ดังนั้นในกรณีนี้ทาง Legal และทีมบริหารภาษี จึงเร่งดำเนินการศึกษากฎหมาย และเราต้องดำเนินการเตรียมแผนเพื่อที่จะบรรเทาปัญหาในส่วนนี้ พร้อมกับพิจารณาร่วมกับสัญญาสัมปทานที่ทำกับรัฐบาล CA (Concession Agreement) เพื่อพิจารณาขอยกเว้นค่าใช้จ่ายในส่วนภาษี ซึ่งหากทำได้จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของโครงการได้เป็นอย่างมาก อีกทางหนึ่งทางผู้บริหารของหน่วยงานต้องติดตามการเคลื่อนไหวภาวะเศรษฐกิจ และอัพเดตภาวะราคาน้ำมันของโลก ซึ่งจะส่งผลกับการคิดภาษีน้ำมันในอนาคต

เล่า #1 นิ้วขาดเพราะพัดลมอุตสาหกรรม

ย้อนไปเมื่อปี 2553 ผมได้มีโอกาสเข้าไปทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งรับผิดชอบในงานติดตั้งเครื่องจักรในโรงไฟฟ้า ให้กับบริษัทรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งของไทย อยู่แถวสะพานพระราม 7 (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) เรื่องมีอยู่ว่า มีอยู่วันหนึ่งหน่วยงานของผมต้องทำงานล่วงเวลา เนื่องจากต้องเร่งงานให้เสร็จให้ทันตามกำหนดการ

ประมาณ 23:00 น.
ทีมงานกำลังเร่งทำงานอย่างหนัก ความเหนื่อยล้า เริ่มแสดงออกบนใบหน้าของพนักงาน

หัวหน้า A : ช่างกร ร้อนไหม เดี๋ยวผมไปขยับพัดลมให้
ช่างกร : ขอบคุณครับพี่ (ยังมุดอยู่ใต้เครื่องจักรเพื่อทำการประกอบชิ้นงาน)

ทันใดนั้นผมก็ได้ยินเสียงดัง โครม! เหมือนพัดลมล้ม และเสียงใบพัดกำลังเสียดสีกับอะไรบางอย่าง ปั๊ก ๆ ๆ

หัวหน้า A : โอ้ย! นิ้ว ๆ
ช่างกร : !!! (ตกใจเห็นเลือดเต็มพื้น)

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

แจกโปรแกรมออกแบบหัวฉีด Sprinkler

Water Sprinkler Calculation


โปรแกรมนี้ผมได้มาจากน้องที่เรียนมหาลัยคนหนึ่ง เป็นผู้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเลือกใช้ ระบบ Sprinkler โดยไม่ต้องปวดหัวกับการไปค้นหนังสือ หรือ NFPA 13

คลิ๊กเพื่อ Download => Water Sprinkler Calculation 

การจัดการความเสี่ยง

วิธีการจัดการตอบสนองความเสี่ยงจําแนกเป็น 4 ประเภท (4T of Risk Responses) คือ 

1. Take การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) คือ การวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่มีวิธีการ
จัดการความเสี่ยงใดเลยที่เหมาะสมเนื่องจากต้นทุนการจัดการความเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ 
อาจต้องยอมรับความเสี่ยง แต่ควรมีมาตรการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อรองรับผลที่จะเกิดขึ้น 

2. Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) 
 - พยายามลดความเสี่ยงโดยการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของกิจกรรมหรือ
โครงการที่นําไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง 
 - ลดความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงจะเกิดขึ้น เช่น การฝึกอบรมบุคลากรให้มี
ความรู้เพียงพอ การกําหนดผู้จัดจ้างและผู้รับมอบงานให้แยกจากกัน 
 - ลดระดับความรุนแรงของผลกระทบเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น การติดตั้ง
เครื่องดับเพลิง การ back up ข้อมูลเป็นระยะๆ การมี server สํารอง 

The Committee of Sponsoring Organization (COSO)

  • The Committee of Sponsoring Organization (COSO) เป็นหน่วยงานที่ได้เผยแพร่วิธีการและกรอบแนวคิดของการควบคุมภายในขององค์กร (Internal Control Framework) อย่างเป็นระบบ เมื่อช่วงต้นทศวรรษของ ปี ค.ศ. 1990 จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและมีความนิยมอย่างแพร่หลาย หลังจากที่วิธีการและการดำเนินการควบคุมภายใน (Internal Control) นั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน
  • ในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นเรื่องที่ทุกคนมีความเห็นอย่างตรงกันว่า การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องที่จำเป็นและเราต้องมีวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงที่ดี แต่การจัดการความเสี่ยงนั้นก็ประสบกับปัญหาเดียวกับการเริ่มทำการควบคุมภายในในช่วงแรก ๆ เพราะการจัดการความเสี่ยงนั้นยังไม่สามารถที่จะกำหนดคำนิยามได้อย่างชัดเจน
  • องค์กรของการประกันภัย ก็มีการกำหนดคำนิยามของการจัดการความเสี่ยงไว้แบบหนึ่ง แต่องค์กรที่ให้บริการสินเชื่อก็กำหนดคำนิยามและวิธีการของการจัดการความเสี่ยงไว้อีกแบบหนึ่งอย่างแตกต่างกัน จนทำให้หน่วยงานหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างก็พยายามที่จะกำหนด คำนิยามและความหมายของการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนพยายามคิดถึงโครงสร้างของการจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านั้น

องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

  1. การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย
    เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง
  2. การประเมินผลกระทบของภัย
    เป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
  3. การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย
    การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้
  • มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
  • มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น
    • ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
    • ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
  • มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม
    ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้
  • มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก
  • มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้