วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #4 การทำ Chemical Cleaning

วัตถุประสงค์ของการทำ Chemical Cleaning

เพื่อทำความสะอาด กำจัดคราบน้ำมัน จารบี หรือสารเคลือบต่าง  ๆ ที่ใช้ในการป้องกันการเกิดสนิมของอุปกรณ์ในช่วงที่ทำการขนส่ง และจัดเก็บ





เพื่อที่จะให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย เราควรต้องทำการปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ดังนี้

1 เตรียมระบบ Boiler Make-up Water และ น้ำ Decriminalize ให้พร้อม (ส่วนของ Boiler 316 m3, นอก Boiler 1,352 m3)
2. มีการ Calibration อุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ รวมถึง ระบบ Sampling ต่างๆให้พร้อม
3. ต้องมีระบบไฟฟ้าทีเสถียร เนื่องจากต้องมีการทำงานของอุปกรณ์ที่ต้องการไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
4. ระบบ Drain ต้องพร้อมใช้งาน
5. ระบบ Waste Water Treatment ต้องพร้อมใช้งาน
6. ต้องมีการ Hydrostatic Test ระบบ Temporary ต่างๆ
7. ระบบ Pump ต่างๆ และ Valve ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานได้ สมบูรณ์
8. Check Valve และ Orifice ต้องถอดออกก่อนเริ่มทำงาน โดยใช้ Temporary แทนเพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการทำงาน
9. ป้องกันระบบ หรือ อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การ Cleaning ให้ปลอดภัย
10. ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำจาก ทองแดง ระหว่างทำ Chemical Clean เนื่องจากทำให้เกิดปฏิกริยา



นอกเหนือจากนั้นต้องมีการแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยเครื่องกล หน่วยงานไฟฟ้า หน่วยงานรักษาความปลอดภัย แต่ละหน่วยต้องมีหน้าที่ในการทำอะไร ระหว่างที่ปฏิบัติงาน

หัวข้อที่ 2 ความเสี่ยงจากการขนส่ง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันการขนส่ง (Transportation) มีความสำคัญกับธุรกิจเป็นอย่างมาก เช่น การขนส่งเอกสาร การขนส่งสินค้า การขนส่งสัตว์ หรือมนุษย์เป็นต้น มีทั้งการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ 


รูปจาก Thaitransport.net

องค์ประกอบที่สำคัญของการขนส่ง

1. เส้นทาง (WAY)
2. สถานี (TERMINAL)
3. พาหนะ (CARRYING UNIT)
4. เครื่องขับเคลื่อน (MOTIVE POWER)



ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น ทุกกิจกรรมมีความเสี่ยง อุบัติเหตุที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ชิวิต และสินค้า การสูญหาย หากจะให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และบรรลุเป้าหมาย นักประเมินความเสี่ยง ต้องทำการปิดความเสี่ยงเหล่านี้ให้หมดสิ้น ทางบริษัทขนส่งก็ต้องทำการศึกษา กฎระเบียบการขนส่งภายในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ยานพาหนะต่าง ๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยทั้งชีวิตและของผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติการขนส่ง ตลอดจนยานพาหนะและสิ่งของที่บรรทุก ผู้ปฏิบัติการหรือผู้ขับขี่ยานพาหนะแต่ละประเภท ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ทั้งภายในต่างประเภทศที่ต้องนำยานพาหนะต่าง ๆ ด้วย รวมถึงการกระจายความเสี่ยงโดยการจ้างบริษัทประกันการขนส่ง เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #3 เดินสำรวจภัยในโรงไฟฟ้า


เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจภัยในโรงไฟฟ้า ซึ่งต้องทำการประเมินความเสี่ยงร่วมกับ บริษัทชั้นนำเรื่องงานประกันภัย การสำรวจนั้น ในภาพรวมการก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี ความก้าวหน้า งานประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็น ในระหว่างเดินสำรวจที่ Turbine Hall (ชั้นที่ติดตั้ง Steam Turbine and Generator) ทางทีมงานสำรวจได้สังเกตุเห็นความผิดปกติของระบบดับเพลิง บริเวณจุด Bearing พบว่า มีการติดตั้งที่ผิดวิธี ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นจริง ระบบที่ได้ทำการติดตั้งในพื้นที่นั้น จะไม่สามารถทำการดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกใช้หัวฉีด Fire Head Sprinkler ที่ผิดจากวัตถุประสงค์ของการดับเพลิง ภายหลังจากทำการสำรวจแล้วเสร็จ ทางทีมงานจึงได้ทำการขอสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อฟังความเห็น และสรุปแนวทางป้องกันให้เหมาะสม

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไม Conceptual design ถึงถูก Approved ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องคนหนึ่งพูดขึ้นมา

"ไม่มีปัญหา เพราะอ้างอิงจาก NFPA (National Fire Protection Association)"

ผมแปลกใจมาก การ Approved แบบที่ไม่ถูกต้อง แล้วนำมาสู่การก่อสร้างแบบผิด ๆ นั้น หลาย ๆ คน หลาย ๆ สถานที่ ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NFPA จะมีใครสามารถยืนยันได้ว่าการออกแบบตาม NFPA จะสามารถป้องกันภัยได้ 100 เปอร์เซ็น ดังนั้นผมมองว่าผู้ที่รับผิดชอบในส่วนงาน ควรจะทำการศึกษา Case Study ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หรือควรรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านระบบป้องกันภัย เพื่อใช้ในการประกอบการออกแบบเพื่อนำมาสู่การก่อสร้างที่ดี และการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

>>> คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า ภัยต่าง ๆ นั้นล้วนมาจากความประมาท และความไม่เข้าใจถ่องแท้ในศาสตร์ของการป้องกันอัคคีภัยอย่างแท้จริง

หัวข้อที่ 1 ความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน


ความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หากเกิดปัญหาขึ้นจะมีผลกระทบต่อองค์การเป็นอย่างมาก ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันของฝั่งยุโรป และอเมริกา ที่ยังไม่ค่อยสู้ดีนัก นักลงทุนที่ต้องไปกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนเหล่านั้นเพื่อนำมาบริหารองค์การ ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า หากวันหนึ่งเราไม่สามารถกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ได้ หรือกิดความล่าช้าในการรับเงิน การขาดสภาพคล่องทางการเงิน แล้วองค์การของท่านสามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในองค์การของท่านเองได้หรือไม่ หากไม่มีการวางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้า หากเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นจริง ท่านจะรับมืออย่างไร ?

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #2 การประเมินความเสี่ยง (ฉบับการ์ตูน)



ที่มา: Siamsafetythailand

การประเมินความเสี่ยงเพื่อลดความสูญเสีย

ในรอบสิบปีที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมของประเทศประสพกับการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง (Major Accident) หลายครั้ง เช่น กรณีโรงงานทำตุ๊กตาเคเดอร์เกิดอัคคีภัยร้ายแรงทำให้มีผุ้ปฏิบัติงานบาดเจ็บนับร้อย และยังส่งผลต่อการหายนะของธุรกิจ หรือกรณีโรงงานลำใยแห้งระเบิดจากสารโปแตสเซียมคลอเรต ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั้งต่อชีวิต รัพย์สิน ตลอดจนประชาชนที่อยู่รอบข้าง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง ซึ่งหากความเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอุบัติเหตุก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรงได้ ดังนั้น หากองค์กรที่มีความเสี่ยง (Risk) ในการทำงานได้มีการประเมินความเสี่ยงอย่างมีระบบ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินแล้ว การบริหาร และ การควบคุมความเสี่ยงก็จะเกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง

 คำนิยามที่เกี่ยวข้อง       ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย (Possibility of Loss ; J.R. Taylor, 1994) โดยพิจารณาจากผลเสียหาย หรือความรุนแรงาของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้



Risk = Severity X Probability

      การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์แหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
     การบ่งชี้อันตราย (Hazard Identification) หมายถึง กระบวนการค้นหาอันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ และที่แอบแฝงอยู่ในทุกขั้นตอนได้ ของกระบวนการผลิต พร้อมทั้งการระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หัวข้อที่ 3 ความเสี่ยงเรื่องภาษีน้ำมัน


ความเสี่ยงจากกฎหมายใหม่ "เรื่องภาษีน้ำมัน"

การทำธุรกิจ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การศึกษากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ ให้ดี ข้อกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ รวมถึงภาษีที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐ

ผมมีโอกาสได้เข้าประชุมร่วมกับ Management ของบริษัท ได้มีการเปิดประเด็นเรื่องหนึ่งคือ "เรื่องภาษีน้ำมัน" เนื่องจากสถานที่ปฏิบัติงานของผมอยู่ต่างประเทศ โดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ที่ประเทศลาว จากความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่ผันผวน รัฐบาลลาวได้ออกกฏหมายใหม่ในส่วนของกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะมีการเรียกเก็บภาษีกับผู้ประกอบการในประเทศ โดยเรียกเก็บเพิ่มจากเดิมประมาณ 400 - 500 Lak/Lite ซึ่งความเสี่ยงเรื่องนี้มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของโครงการในช่วงก่อสร้าง และในช่วงดำเนินการ ผลกระทบดังกล่าวส่งผลในระยะยาว ดังนั้นในกรณีนี้ทาง Legal และทีมบริหารภาษี จึงเร่งดำเนินการศึกษากฎหมาย และเราต้องดำเนินการเตรียมแผนเพื่อที่จะบรรเทาปัญหาในส่วนนี้ พร้อมกับพิจารณาร่วมกับสัญญาสัมปทานที่ทำกับรัฐบาล CA (Concession Agreement) เพื่อพิจารณาขอยกเว้นค่าใช้จ่ายในส่วนภาษี ซึ่งหากทำได้จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของโครงการได้เป็นอย่างมาก อีกทางหนึ่งทางผู้บริหารของหน่วยงานต้องติดตามการเคลื่อนไหวภาวะเศรษฐกิจ และอัพเดตภาวะราคาน้ำมันของโลก ซึ่งจะส่งผลกับการคิดภาษีน้ำมันในอนาคต