วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #4 การทำ Chemical Cleaning

วัตถุประสงค์ของการทำ Chemical Cleaning

เพื่อทำความสะอาด กำจัดคราบน้ำมัน จารบี หรือสารเคลือบต่าง  ๆ ที่ใช้ในการป้องกันการเกิดสนิมของอุปกรณ์ในช่วงที่ทำการขนส่ง และจัดเก็บ





เพื่อที่จะให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย เราควรต้องทำการปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ดังนี้

1 เตรียมระบบ Boiler Make-up Water และ น้ำ Decriminalize ให้พร้อม (ส่วนของ Boiler 316 m3, นอก Boiler 1,352 m3)
2. มีการ Calibration อุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ รวมถึง ระบบ Sampling ต่างๆให้พร้อม
3. ต้องมีระบบไฟฟ้าทีเสถียร เนื่องจากต้องมีการทำงานของอุปกรณ์ที่ต้องการไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
4. ระบบ Drain ต้องพร้อมใช้งาน
5. ระบบ Waste Water Treatment ต้องพร้อมใช้งาน
6. ต้องมีการ Hydrostatic Test ระบบ Temporary ต่างๆ
7. ระบบ Pump ต่างๆ และ Valve ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานได้ สมบูรณ์
8. Check Valve และ Orifice ต้องถอดออกก่อนเริ่มทำงาน โดยใช้ Temporary แทนเพื่อป้องกันความเสียหายระหว่างการทำงาน
9. ป้องกันระบบ หรือ อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ การ Cleaning ให้ปลอดภัย
10. ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำจาก ทองแดง ระหว่างทำ Chemical Clean เนื่องจากทำให้เกิดปฏิกริยา



นอกเหนือจากนั้นต้องมีการแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยเครื่องกล หน่วยงานไฟฟ้า หน่วยงานรักษาความปลอดภัย แต่ละหน่วยต้องมีหน้าที่ในการทำอะไร ระหว่างที่ปฏิบัติงาน

หัวข้อที่ 2 ความเสี่ยงจากการขนส่ง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันการขนส่ง (Transportation) มีความสำคัญกับธุรกิจเป็นอย่างมาก เช่น การขนส่งเอกสาร การขนส่งสินค้า การขนส่งสัตว์ หรือมนุษย์เป็นต้น มีทั้งการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ 


รูปจาก Thaitransport.net

องค์ประกอบที่สำคัญของการขนส่ง

1. เส้นทาง (WAY)
2. สถานี (TERMINAL)
3. พาหนะ (CARRYING UNIT)
4. เครื่องขับเคลื่อน (MOTIVE POWER)



ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น ทุกกิจกรรมมีความเสี่ยง อุบัติเหตุที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ชิวิต และสินค้า การสูญหาย หากจะให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และบรรลุเป้าหมาย นักประเมินความเสี่ยง ต้องทำการปิดความเสี่ยงเหล่านี้ให้หมดสิ้น ทางบริษัทขนส่งก็ต้องทำการศึกษา กฎระเบียบการขนส่งภายในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ยานพาหนะต่าง ๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยทั้งชีวิตและของผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติการขนส่ง ตลอดจนยานพาหนะและสิ่งของที่บรรทุก ผู้ปฏิบัติการหรือผู้ขับขี่ยานพาหนะแต่ละประเภท ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ทั้งภายในต่างประเภทศที่ต้องนำยานพาหนะต่าง ๆ ด้วย รวมถึงการกระจายความเสี่ยงโดยการจ้างบริษัทประกันการขนส่ง เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #3 เดินสำรวจภัยในโรงไฟฟ้า


เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปสำรวจภัยในโรงไฟฟ้า ซึ่งต้องทำการประเมินความเสี่ยงร่วมกับ บริษัทชั้นนำเรื่องงานประกันภัย การสำรวจนั้น ในภาพรวมการก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี ความก้าวหน้า งานประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็น ในระหว่างเดินสำรวจที่ Turbine Hall (ชั้นที่ติดตั้ง Steam Turbine and Generator) ทางทีมงานสำรวจได้สังเกตุเห็นความผิดปกติของระบบดับเพลิง บริเวณจุด Bearing พบว่า มีการติดตั้งที่ผิดวิธี ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นจริง ระบบที่ได้ทำการติดตั้งในพื้นที่นั้น จะไม่สามารถทำการดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเลือกใช้หัวฉีด Fire Head Sprinkler ที่ผิดจากวัตถุประสงค์ของการดับเพลิง ภายหลังจากทำการสำรวจแล้วเสร็จ ทางทีมงานจึงได้ทำการขอสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อฟังความเห็น และสรุปแนวทางป้องกันให้เหมาะสม

แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไม Conceptual design ถึงถูก Approved ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างได้ สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินจาก ผู้ที่เกี่ยวข้องคนหนึ่งพูดขึ้นมา

"ไม่มีปัญหา เพราะอ้างอิงจาก NFPA (National Fire Protection Association)"

ผมแปลกใจมาก การ Approved แบบที่ไม่ถูกต้อง แล้วนำมาสู่การก่อสร้างแบบผิด ๆ นั้น หลาย ๆ คน หลาย ๆ สถานที่ ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NFPA จะมีใครสามารถยืนยันได้ว่าการออกแบบตาม NFPA จะสามารถป้องกันภัยได้ 100 เปอร์เซ็น ดังนั้นผมมองว่าผู้ที่รับผิดชอบในส่วนงาน ควรจะทำการศึกษา Case Study ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หรือควรรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านระบบป้องกันภัย เพื่อใช้ในการประกอบการออกแบบเพื่อนำมาสู่การก่อสร้างที่ดี และการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

>>> คงปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า ภัยต่าง ๆ นั้นล้วนมาจากความประมาท และความไม่เข้าใจถ่องแท้ในศาสตร์ของการป้องกันอัคคีภัยอย่างแท้จริง

หัวข้อที่ 1 ความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน


ความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หากเกิดปัญหาขึ้นจะมีผลกระทบต่อองค์การเป็นอย่างมาก ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันของฝั่งยุโรป และอเมริกา ที่ยังไม่ค่อยสู้ดีนัก นักลงทุนที่ต้องไปกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนเหล่านั้นเพื่อนำมาบริหารองค์การ ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า หากวันหนึ่งเราไม่สามารถกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ได้ หรือกิดความล่าช้าในการรับเงิน การขาดสภาพคล่องทางการเงิน แล้วองค์การของท่านสามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในองค์การของท่านเองได้หรือไม่ หากไม่มีการวางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้า หากเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นจริง ท่านจะรับมืออย่างไร ?

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

เล่า #2 การประเมินความเสี่ยง (ฉบับการ์ตูน)



ที่มา: Siamsafetythailand

การประเมินความเสี่ยงเพื่อลดความสูญเสีย

ในรอบสิบปีที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมของประเทศประสพกับการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง (Major Accident) หลายครั้ง เช่น กรณีโรงงานทำตุ๊กตาเคเดอร์เกิดอัคคีภัยร้ายแรงทำให้มีผุ้ปฏิบัติงานบาดเจ็บนับร้อย และยังส่งผลต่อการหายนะของธุรกิจ หรือกรณีโรงงานลำใยแห้งระเบิดจากสารโปแตสเซียมคลอเรต ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั้งต่อชีวิต รัพย์สิน ตลอดจนประชาชนที่อยู่รอบข้าง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง ซึ่งหากความเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอุบัติเหตุก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรงได้ ดังนั้น หากองค์กรที่มีความเสี่ยง (Risk) ในการทำงานได้มีการประเมินความเสี่ยงอย่างมีระบบ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินแล้ว การบริหาร และ การควบคุมความเสี่ยงก็จะเกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง

 คำนิยามที่เกี่ยวข้อง       ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย (Possibility of Loss ; J.R. Taylor, 1994) โดยพิจารณาจากผลเสียหาย หรือความรุนแรงาของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้



Risk = Severity X Probability

      การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์ถึงปัจจัย หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้อันตรายที่มีอยู่ และแอบแฝงอยู่ก่อให้เกิดอุบัติภัย และอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี หรือวัตถุอันตราย โดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของเหตุการณ์แหล่านั้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรือความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม (ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)
     การบ่งชี้อันตราย (Hazard Identification) หมายถึง กระบวนการค้นหาอันตรายต่างๆ ที่มีอยู่ และที่แอบแฝงอยู่ในทุกขั้นตอนได้ ของกระบวนการผลิต พร้อมทั้งการระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

หัวข้อที่ 3 ความเสี่ยงเรื่องภาษีน้ำมัน


ความเสี่ยงจากกฎหมายใหม่ "เรื่องภาษีน้ำมัน"

การทำธุรกิจ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การศึกษากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ ให้ดี ข้อกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ รวมถึงภาษีที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐ

ผมมีโอกาสได้เข้าประชุมร่วมกับ Management ของบริษัท ได้มีการเปิดประเด็นเรื่องหนึ่งคือ "เรื่องภาษีน้ำมัน" เนื่องจากสถานที่ปฏิบัติงานของผมอยู่ต่างประเทศ โดยก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่ที่ประเทศลาว จากความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่ผันผวน รัฐบาลลาวได้ออกกฏหมายใหม่ในส่วนของกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะมีการเรียกเก็บภาษีกับผู้ประกอบการในประเทศ โดยเรียกเก็บเพิ่มจากเดิมประมาณ 400 - 500 Lak/Lite ซึ่งความเสี่ยงเรื่องนี้มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของโครงการในช่วงก่อสร้าง และในช่วงดำเนินการ ผลกระทบดังกล่าวส่งผลในระยะยาว ดังนั้นในกรณีนี้ทาง Legal และทีมบริหารภาษี จึงเร่งดำเนินการศึกษากฎหมาย และเราต้องดำเนินการเตรียมแผนเพื่อที่จะบรรเทาปัญหาในส่วนนี้ พร้อมกับพิจารณาร่วมกับสัญญาสัมปทานที่ทำกับรัฐบาล CA (Concession Agreement) เพื่อพิจารณาขอยกเว้นค่าใช้จ่ายในส่วนภาษี ซึ่งหากทำได้จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของโครงการได้เป็นอย่างมาก อีกทางหนึ่งทางผู้บริหารของหน่วยงานต้องติดตามการเคลื่อนไหวภาวะเศรษฐกิจ และอัพเดตภาวะราคาน้ำมันของโลก ซึ่งจะส่งผลกับการคิดภาษีน้ำมันในอนาคต

เล่า #1 นิ้วขาดเพราะพัดลมอุตสาหกรรม

ย้อนไปเมื่อปี 2553 ผมได้มีโอกาสเข้าไปทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งรับผิดชอบในงานติดตั้งเครื่องจักรในโรงไฟฟ้า ให้กับบริษัทรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งของไทย อยู่แถวสะพานพระราม 7 (ริมแม่น้ำเจ้าพระยา) เรื่องมีอยู่ว่า มีอยู่วันหนึ่งหน่วยงานของผมต้องทำงานล่วงเวลา เนื่องจากต้องเร่งงานให้เสร็จให้ทันตามกำหนดการ

ประมาณ 23:00 น.
ทีมงานกำลังเร่งทำงานอย่างหนัก ความเหนื่อยล้า เริ่มแสดงออกบนใบหน้าของพนักงาน

หัวหน้า A : ช่างกร ร้อนไหม เดี๋ยวผมไปขยับพัดลมให้
ช่างกร : ขอบคุณครับพี่ (ยังมุดอยู่ใต้เครื่องจักรเพื่อทำการประกอบชิ้นงาน)

ทันใดนั้นผมก็ได้ยินเสียงดัง โครม! เหมือนพัดลมล้ม และเสียงใบพัดกำลังเสียดสีกับอะไรบางอย่าง ปั๊ก ๆ ๆ

หัวหน้า A : โอ้ย! นิ้ว ๆ
ช่างกร : !!! (ตกใจเห็นเลือดเต็มพื้น)

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

แจกโปรแกรมออกแบบหัวฉีด Sprinkler

Water Sprinkler Calculation


โปรแกรมนี้ผมได้มาจากน้องที่เรียนมหาลัยคนหนึ่ง เป็นผู้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้เกิดความสะดวกในการเลือกใช้ ระบบ Sprinkler โดยไม่ต้องปวดหัวกับการไปค้นหนังสือ หรือ NFPA 13

คลิ๊กเพื่อ Download => Water Sprinkler Calculation 

การจัดการความเสี่ยง

วิธีการจัดการตอบสนองความเสี่ยงจําแนกเป็น 4 ประเภท (4T of Risk Responses) คือ 

1. Take การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) คือ การวิเคราะห์แล้วเห็นว่าไม่มีวิธีการ
จัดการความเสี่ยงใดเลยที่เหมาะสมเนื่องจากต้นทุนการจัดการความเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ 
อาจต้องยอมรับความเสี่ยง แต่ควรมีมาตรการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อรองรับผลที่จะเกิดขึ้น 

2. Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) 
 - พยายามลดความเสี่ยงโดยการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของกิจกรรมหรือ
โครงการที่นําไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง 
 - ลดความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงจะเกิดขึ้น เช่น การฝึกอบรมบุคลากรให้มี
ความรู้เพียงพอ การกําหนดผู้จัดจ้างและผู้รับมอบงานให้แยกจากกัน 
 - ลดระดับความรุนแรงของผลกระทบเมื่อเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น การติดตั้ง
เครื่องดับเพลิง การ back up ข้อมูลเป็นระยะๆ การมี server สํารอง 

The Committee of Sponsoring Organization (COSO)

  • The Committee of Sponsoring Organization (COSO) เป็นหน่วยงานที่ได้เผยแพร่วิธีการและกรอบแนวคิดของการควบคุมภายในขององค์กร (Internal Control Framework) อย่างเป็นระบบ เมื่อช่วงต้นทศวรรษของ ปี ค.ศ. 1990 จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและมีความนิยมอย่างแพร่หลาย หลังจากที่วิธีการและการดำเนินการควบคุมภายใน (Internal Control) นั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน
  • ในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นเรื่องที่ทุกคนมีความเห็นอย่างตรงกันว่า การจัดการความเสี่ยงเป็นเรื่องที่จำเป็นและเราต้องมีวิธีในการจัดการกับความเสี่ยงที่ดี แต่การจัดการความเสี่ยงนั้นก็ประสบกับปัญหาเดียวกับการเริ่มทำการควบคุมภายในในช่วงแรก ๆ เพราะการจัดการความเสี่ยงนั้นยังไม่สามารถที่จะกำหนดคำนิยามได้อย่างชัดเจน
  • องค์กรของการประกันภัย ก็มีการกำหนดคำนิยามของการจัดการความเสี่ยงไว้แบบหนึ่ง แต่องค์กรที่ให้บริการสินเชื่อก็กำหนดคำนิยามและวิธีการของการจัดการความเสี่ยงไว้อีกแบบหนึ่งอย่างแตกต่างกัน จนทำให้หน่วยงานหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างก็พยายามที่จะกำหนด คำนิยามและความหมายของการจัดการความเสี่ยง ตลอดจนพยายามคิดถึงโครงสร้างของการจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านั้น

องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง

  1. การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย
    เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้างที่มาเผชิญอยู่ และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง
  2. การประเมินผลกระทบของภัย
    เป็นการประเมินผลกระทบของภัยที่จะมีต่อองค์กรซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด
  3. การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงจากภัย
    การจัดทำมาตรการตอบโต้ตอบความเสี่ยงเป็นมาตรการที่จัดเรียงลำดับความสำคัญแล้วในการประเมินผลกระทบของภัย มาตรการตอบโต้ที่นิยมใช้เพื่อการรับมือกับภัยแต่ละชนิด อาจจำแนกดังนี้
  • มาตรการขจัดหรือลดความรุนแรงของความอันตรายของภัยที่ต้องประสบ
  • มาตรการที่ป้องกันผู้รับภัยมิให้ต้องประสบภัยโดยตรง เช่น
    • ภัยจากการที่ต้องปีนไปในที่สูงก็มีมาตรการป้องกันโดยต้องติดเข็มขัดนิรภัย กันการพลาดพลั้งตกลงมา
    • ภัยจากไอระเหยหรือสารพิษก็ป้องกันโดยออกมาตรการให้สวมหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นต้น
  • มาตรการลดความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ได้มีการขจัดและลดความรุนแรง โดยออกแบบตัวอาคารให้มีผนังกันไฟ กันเพลิงไหม้รุนลาม
    ไปยังบริเวณใกล้เคียง และมีการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ก็จะช่วยลดหรือหยุดความรุนแรงของอุบัติภัยลงได้
  • มาตรการกู้ภัยก็เป็นการลดความสูญเสียโดยตรง ลงได้มาก
  • มาตรการกลับคืนสภาพ ก็เป็นอีกมาตรการในการลดความเสียหายต่อเนื่องจากภัยหรืออุบัติภัยแต่ละครั้งลงได้

ศัพท์ทางเทคนิค

  • ภัย (Peril) คือ สาเหตุของความเสียหาย ซึ่งภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติ เช่น เกิดพายุ สึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ภัยนอกจากจะเกิดขึ้นได้จากภัยธรรมชาติแล้ว ภัยนั้นยังเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย จลาจล ฆาตกรรม เป็นต้น สำหรับสาเหตุสุดท้ายที่จะเกิดภัยได้นั้นคือภัยที่เกิดขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะภัยที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจ เป็นอีกสาเหตุที่สำคัญ เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนทั้งประเทศ หรือทั้งภูมิภาคจะได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวาง
  • ความเสี่ยง (Risk) คือ ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความเสี่ยงนั้น ๆ จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยในบริษัท
  • สภาวะที่จะทำให้เกิดความเสียหาย (Hazard) คือ สภาพเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น โดยสภาวะต่าง ๆ นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น สภาวะทางด้านกายภาพ (Physical) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย เช่น ชนิดและทำเลที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง อาจเอื้อต่อการเกิดเพลิงไหม้ สภาวะทางด้านศีลธรรม (Moral) คือ สภาวะของโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากความไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น การฉ้อโกงของพนักงาน และสภาวะด้านจิตสำนึกในการป้องกันความเสี่ยง (Morale) คือ สภาวะที่ไม่ประมาทและเลินเล่อ หรือการไม่เอาใจใส่ในการป้องกันความเสี่ยง เช่น การที่พนักงานปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่ควบคุม

ที่มา:http://th.wikipedia.org

นิยามของความเสี่ยง (Risk Definition)

ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ
  • โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss)
  • ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss)
  • ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event)
  • การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result)

ที่มา:http://th.wikipedia.org

ความหมายของการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)

ความเสี่ยง (Risk) คือ การวัดความสามารถ ที่จะดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของงานประสบความสำเร็จ ภายใต้การตัดสินใจ งบประมาณ กำหนดเวลา และข้อจำกัดด้านเทคนิคที่เผชิญอยู่ อย่างเช่น การจัดทำโครงการเป็นชุดของกิจกรรม ที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในอนาคต โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด มาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ภายใต้กรอบเวลาอันจำกัด ซึ่งเป็นกำหนดการปฏิบัติการในอนาคต ความเสี่ยงจึงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอน และความจำกัดของทรัพยากรโครงการ ผู้บริหารโครงการจึงต้องจัดการความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้ปัญหาของโครงการลดน้อยลง และสามารถดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (Risk management) คือ การจัดการความเสี่ยง ทั้งในกระบวนการในการระบุ วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแล ตรวจสอบ และควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับ กิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน (Monitoring) เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเรียกว่า อุบัติภัย (Accident )


ที่มา:http://th.wikipedia.org